สายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และไต้หวัน “เกาลัดไทย“ แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นไม้ไทย
แต่เหตุผลที่มีชื่อเรียกว่า เกาลัดไทย ทั้งที่มีต้นกำเนิดมาจากจีนเพราะ ไม่ได้อยู่ในวงค์เดียวกับเกาลัดญุี่ปุ่น หรือ เกาลัดยุโรป
บางคนจึงเรียกอีกเชื่อว่า “เกาลัดเทียม” หรือ เกาลัดกำมะหยี่ อาศัยอยู่ในป่าชื้นหนาแน่นที่ระดับความสูงต่ำและปานกลาง ปัจจุบันได้มีการแพร่กระจายไปยัง อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น รวมทั้งไทย
เมล็ดเกาลัดไทยจะมีเปลือกหุ้มสีเขียวไม่มีขน เมื่อผลเริ่มสุกเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบเรียบไม่มีรอยหยักเหมือนกับ
เกาลัดญี่ปุ่น ดอกเกาลัดไทยจะออกเป็นช่อทำให้ดูสวยงาม จึงสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับและต้นให้ร่มเงาได้ดี
นอกจากนี้เกาลัดไทยยังถือว่าเป็นไม้มงคลอีกประเภทหนึงอีกด้วย
แนะนำอ่านเพิ่มเติม >> ทำความรู้จัก เกาลัดญี่ปุ่น
สารบัญเนื้อหา
- ชื่อทางวิทยาศาสตร์เกาลัดไทย
- เกาลัดไทยเป็นไม้ประดับและไม้มงคล
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- 5 วิธีการเพาะปลูกเกาลัดไทย
- สรุปประโยชน์และสรรพคุณของเกาลัดไทย
ชื่อ: เกาลัดไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : sterculia monosperma
ชื่อวงศ์ : sterculiaceae
ต้นกำเนิด : มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและไต้หวัน
เกาลัดไทยเป็นไม้ประดับและไม้มงคล
คนไทยส่วนมากนิยมนำต้นเกาลัดไทยมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อตกแต่งสวนของตนเองให้มีความสวยงาม
เนื่องจากเกาลัดไทยจะมีช่อดอกออกมาอยู่เป็นประจำ และเมื่อถึงช่วงออกผลแล้วนั่น ผลจะมีเปลือกกำมะหยี่สีแดงรูปร่างมนรีอยู่ที่ปลายกิ่งเป็นกลุ่มจำนวนมาก
ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำมาตกแต่งสวน อีกทั้งเกาลัดไทยเรียกได้ว่าเป็นไม้มงคลอีกประเภทหนึ่งอีกด้วย นอกจากนี้เกาลัดไทยไม่ได้เป็นแค่ไม้ประดับหรือไม้มงคลอย่างเดียว ผลของเกาลัดยังสามารถนำมาคั่วหรือต้มให้สุกเพื่อนำมาเป็นอาหารว่างที่ประโยชน์อีกชนิดเลยก็ว่าได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
เป็นไม้ยืนต้นรูปทรงกระบอกสูง มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเรียบหรือมีร่องเล็กน้อยตามยาวเปลือกสีน้ำตาลอมเทา
ใบไม้
ใบมักจัดเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่งบน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบเรียบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อบ ยาว 8 – 25 ซม. กว้าง 5 – 15 ซม. ใบมีก้านใบสั้น 2 – 3.5 ซม.
ดอก
เป็นช่อแยกแขนงไปตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 20 -35 ซม. มีดอกเพศเดียวกันจำนวนมากบนต้นเดียวกัน ก้านมีขนสีแดง ไม่มีกลีบดอก แต่มีกลีบเลี้ยงสีขาวครีมรูประฆัง (ชั้นนอกสุดของดอกไม้) ซึ่งจะกลายเป็นสีแดง เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 ซม กลีบเลี้ยงมีเส้นตรง 5 – 6 กลีบที่โค้งเข้าหาศูนย์กลางและรวมกันที่ปลาย
ผลและเมล็ด
ผลคล้ายหนังสีแดงสดมีขนคล้ายกำมะหยี่ ซึ่งแตกออกตามตะเข็บ 1 ตะเข็บ รูปมนหรือค่อนข้างกลม ยาว 5 ซม. กว้าง 2 – 3 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. หากผลยังไม่สุกเปลือกหุ้มจะเป็นสีเขียว ผลออกรวมกันเป็นกลุ่ม ก้านช่อผลยาวถึง 20 ซม
เมื่อผลสุกเปลือกจะแตกแยกออกจากกัน เมล็ดมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
5 วิธีการเพาะปลูกเกาลัดไทย
(เกาลัดไทยสามารขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและการตอนกิ่ง)
1. เกาลัดไทยสามารถเพาะปลูกได้ในพื้นที่เขตภูมิอากาศแบบเขตร้อนหรือกึ่งร้อน และอบอุ่นเพียงเล็กน้อย
2. เกาลัดไทยต้องหารแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน เพื่อทำให้เกาลัดสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ หากได้รับแสงแดดน้อย ไม่เพียงพออาจทำให้เกิดการเจริยเติบโตช้าลง
3. ควรปลูกเกาลัดในดินที่อุดมสมบูรณ์และมีการระบายน้ำได้ดี ในพื้นที่ปลูกเกาลัดไทยอากาศต้องถ่ายเทได้สะดวกต้องการความชื้นสูง และที่สำคัญไม่ควรให้ภายในบริเวณที่ปลูกมีน้ำขัง เนื่องจากเกาลัดไทยไม่ทนต่อสภาพน้ำที่ขังค้างได้
4. เกาลัดจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดินร่วนปนทราย เนื้อดินลึก และควรมีอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่มากพอสมควร ไม่ควรปลูกในบริเวณที่ดินเหนียวจัด
5. ใน 1 ปี ควรใส่ปุ๋ยคอกให้ยิปซินธรรมชาติ อย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง และควรใส่ปุ๋ยให้มีลักษณะคลุมโคยต้นด้วยเศษพืชแห้งๆให้หนาเต็มตามบริเวณโคน เป็นทรงงพุ่ม ที่สำคัญควรมีการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือจุลินทรีย์ อย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อเดือน
แนะนำอ่านเพิ่มเติม >> 4 สายพันธุ์หลัก เกาลัดที่คนไทยนิยมนำมารับประทาน
สรุปประโยชน์และสรรพคุณของเกาลัดไทย
- ช่วยบำรุงตับและไต
- ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
- ช่วยรักษาโรคบิดและอาเจียน
- ต้นเกาลัดไทยสามารถให้ร่มเงาได้อย่างดี
- เสริมความเป็นสิริมงคลและความสวยให้แก่บ้าน
- ผลของเกาลัดไทยเมื่อสุกสามารถนำมาปรุคั่วหรือต้มเพื่อรับประทานได้
- เกาลัดไทยมีเรซินมาก (ยางไม้) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้
- ไม้ของเกาลัดไทย สามารถนำมาเป็นประยุกต์เป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
>>>เกาลัด
>>>ขั้นตอนง่ายๆ การอุ่นเกาลัดที่บ้าน